เมนู

6. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานธรรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต แล้ว
ให้ทาน ฯลฯ ทำสายสงฆ์.
อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ จิต เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจิต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
7. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ มี 3 วาระ (วาระที่ 7-8-9)

10. ปุเรชาตปัจจัย


[176] 1. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
ธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่

บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ
โผฏฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่
จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง
เพราะปรารภรูปเป็นต้นนั้น จิต ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
3. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
ธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นรูปทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ โผฏ-
ฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง
เพราะปรารภรูปเป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
4. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ กาย ฯลฯ รูปทั้งหลาย
ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะปรารภจักษุ
เป็นต้นนั้น จิต ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตปัจจัย ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.

บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ
กายายตนะ ฯลฯ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
6. ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ เพราะปรารภจักษุเป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ ด้วยทิพโสตธาตุ ฯลฯ
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.

7. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของ
ปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปเรชาตะ
คือ รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ
รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจักขายตนะเป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นจิตต-
สมุฏฐานธรรม และกายายตนะ ฯลฯ
8. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
คือ รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัย
แก่จิต ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ
รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และ
กายายตนะ ฯลฯ

9. จิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่จิตต-
สมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยจิตตสมุฏฐานธรรม และธรรมที่ไม่ใช่
จิตตสมุฏฐานธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
คือ รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทยวัตถุ เป็นปัจจัย
แก่จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และหทยวัตถุ ฯลฯ
รูปายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม และจักขายตนะ เป็นปัจจัย
แก่จักขุวิญญาณ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ฯลฯ

11. ปัจฉาชาตปัจจัย 12. อาเสวนปัจจัย


[177] 1. จิตตสมุฏฐานธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐาน-
ธรรม ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ที่เป็นจิตตสมุฏฐานธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของปัจฉาชาต-
ปัจจัย.
ปัจฉาชาตปัจจัย พึงให้พิสดารโดยอาการนี้ (มี 9 วาระ)
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ.